ซูคราโลส คือ อะไร
ซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้ พลังงาน ซึ่งถูกสร้างจากการใช้น้ำตาลซูโครสเป็นสารตั้งต้น แล้วแทนที่กลุ่มไฮดรอกซิล 3 ตำแหน่งด้วยอะตอมสารคลอไรด์ ทำให้มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับน้ำตาล แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่ยังคงให้รสชาติหวานและไม่มีรสขมติดลิ้นใกล้เคียงน้ำตาล ซูคราโลสมีลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวร่วน ละลายน้ำได้ดีและสามารถใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาได้โดยไม่สูญเสียความหวาน ซูคราโลสมีลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวร่วน ละลายน้ำได้ดีและสามารถใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาได้โดยไม่สูญเสียความหวาน
ประโยชน์ของซูคราโลส
1.) ไม่ทำให้ฟันผุ2.) ละลายน้ำได้ดี ไม่เป็นตะกอน3.) ไม่มีน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ต้องการหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลและผู้ป่วยโรคเบาหวาน4.) ไม่มีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยหรือมีภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย5.) หวานกว่าน้ำตาลประมาณ 8 เท่า เป็นผลึกละเอียด ร่วน สีขาว ละลายน้ำได้ดี ทั้งในอาหารร้อนและเย็น6.) คาร์โบไฮเดรตต่ำ (extreamly low-carb) เหมาะสำหรับผู้บริโภคตามแนวทางพร่องแป้ง7.) ใช้ปรุงอาหารร้อนๆบนเตาได้จริง โดยรสชาติไม่เปลี่ยนและไม่เป็นอันตราย ไม่ว่า ต้ม ผัด นึ่ง ทอด อบ อุ่นอาหารซ้ำ ฯลฯ8.) หวานอร่อย ไม่ขม แตกต่างกว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลตัวเดิมๆที่คุณเคยใช้ สำหรับคนอยากรู้ลึกกว่านี้
สารให้ความหวานในปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวและโรคเบาหวาน ดังนั้นตลาดผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำจึงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความพยายามที่จะค้นคว้าหาสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นด้วย
สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน เช่น ฟรุคโตส ซอร์บิทอล
2. สารให้ความหวานที่ ไม่ให้พลังงาน เช่น ซูคราโลส สตีวิโอไซด์ แอสปาร์แตม ซัคคารีน และอะซีซัลเฟมเค
โครงสร้างทางเคมี ซูคราโลส
ซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน ซึ่งถูกสร้างจากการใช้น้ำตาลซูโครสเป็นสารตั้งต้น แล้วแทนที่กลุ่มไฮดรอกซิล 3 ตำแหน่งด้วยอะตอมสารคลอไรด์ ทำให้มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับน้ำตาล แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่ยังคงให้รสชาติหวานและไม่มีรสขมติดลิ้นใกล้เคียงน้ำตาล ซูคราโลสมีลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวร่วน ละลายน้ำได้ดีและสามารถใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาได้โดยไม่สูญเสียความหวาน
ขั้นตอนการผลิต
ความปลอดภัย
องค์การอนามัยโลก(WHO)และองค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้การยอมรับความปลอดภัยของซูคราโลสตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ทำให้ประเทศต่างๆมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เช่น แคนาดา อเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป ได้ให้การยอมรับการใช้สารนี้ในอาหาร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆมีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของซูคราโลสมากกว่า 100 ชิ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของซูคราโลสต่อสิ่งแวดล้อมอีกกว่า 40ชิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าซูคราโลสไม่มีผลต่อระบบนิเวศน์ การศึกษาด้านความปลอดภัยของซูคราโลสมีการศึกษาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาเรื่องเภสัชจลนศาสตร์ การก่อกลายพันธุ์ ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ ผลต่อทารกในครรภ์ ผลต่อการเกิดมะเร็ง ผลต่อระบบประสาท และผลต่อระบบภูมิต้านทาน จากการทดลองซูคราโลสในระดับต่างๆไม่พบความเป็นพิษ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งผลนี้ก็คล้ายคลึงกับสารประกอบอื่นๆที่ดูดซึมยาก
แม้ว่าโครงสร้างของซูคราโลสจะคล้ายกับน้ำตาล แต่ก็ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน และไม่ทำให้ฟันผุ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเปรียบเทียบลักษณะรสชาติซูคราโลส สารให้ความหวานต่างๆ และน้ำตาลเปรียบเทียบลักษณะรสชาติซูคราโลสและน้ำตาล
เปรียบเทียบลักษณะรสชาติซูคราโลส สารให้ความหวานต่างๆ และน้ำตาล
การยอมรับ
องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้ซูคราโลสเป็นวัตถุเจือปนในอาหารชนิดต่างๆ 14ชนิด ดังนี้
- Baked goods and baking mixes
- Beverage and beverage bases
- Chewing gum
- Coffee and tea
- Dairy product analogues
- Fats and oils (salads dressings)
- Frozen dairy desserts and mixes
- Fruit and water ices
- Gelatins and pudding
- Jams and jellies
- Milk products
- Processed fruits and fruit juices
- Sugar substitue
- Sweet sauces, toppings, and syrups
เอกสารอ้างอิง
- ฉวีวรรณ จิตยพันธกุล. เอกสารวิชาการเรื่อง "ซูคราโลส วัตถุให้ความหวานจัดชนิดใหม่", มีนาคม 2540 ค้นจากห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- Opinion of the Scientific Committee on Food on Sucralose (Adopted by the SCF on 7 September 2000): European Commission Health and Consumer Protection Directorate-General
- Everything You need to Know about Sucralose: American Academy of Family Physicians Foundation, May 1998
- Sucralose: Prepared at the 41st JECFA(1993), published in FNP 52 Add 2 (1993)
- Process for the preparation of 4,1',6'-trichloro-4,1',6'-trideoxygalactosucrose (TGS): United States Patent 4380476, April 1983
- Process for the preparation of 4,1',6'-trichloro-4,1',6'-trideoxygalactosucrose: United States Patent 4362869, December 1982
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น